ชุดบอล

ปกติเสื้อของชุดฟุตบอลทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ที่ไม่ดูดซับเหงื่อและความร้อนจากร่างกายในลักษณะเดียวกับเสื้อที่ทำจากใยธรรมชาติ[10] สโมสรอาชีพส่วนใหญ่มีโลโก้ผู้สนับสนุนด้านหน้าของเสื้อ ซึ่งหมายถึงการสร้างรายได้ให้กับสโมสร[11] และบางสโมสรยังเสนอให้มีโลโก้ด้านหลังของเสื้อด้วย[12] กฎของแต่ละแห่ง มีข้อห้ามเรื่องขนาดของโลโก้ หรือตำแหน่งของโลโก้ที่ปรากฏอยู่บนเสื้อ[13] การแข่งขันอย่างในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ให้ผู้เล่นสวมเสื้อที่มีโลโก้ของพรีเมียร์ลีกบนแขนเสื้อ[14]หมายเลขของผู้เล่นส่วนใหญ่จะแปะที่ด้านหลังของเสื้อ แต่ในการแข่งขันระดับทีมชาติมักจะแปะหมายเลขไว้ด้านหน้า[15] และการแข่งขันของทีมอาชีพ มีการแปะนามสกุลของผู้เล่นเหนือหมายเลขเสื้อ[16] กัปตันของแต่ละทีมจะสวมปลอกกัปตันทีมรอบแขนซ้าย เพื่อระบุตำแหน่งกัปตันทีมให้ผู้ตัดสินและผู้สนับสนุนรับรู้
รองเท้าสมัยใหม่ ที่ออกแบบเพื่อใช้กับหญ้าเทียมหรือทราย
ผู้เล่นโดยมากในปัจจุบัน สวมรองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษที่อาจทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ รองเท้าสมัยใหม่นั้นมีการตัดลงไปเล็กน้อยเหนือข้อเท้าเพื่อให้แตกต่างจากรองเท้าหุ้มข้อสูงในอดีต และมีสตั๊ดติดอยู่ที่ฝ่าเท้า สตั๊ดมีทั้งยึดติดอยู่กับฝ่าเท้าเลยหรือรุ่นที่นำออกได้[17] รองเท้าสมัยใหม่อย่างเช่น อาดิดาส พรีเดเตอร์ มีแนวความคิดดั้งเดิมที่ออกแบบให้กับอดีตผู้เล่นลิเวอร์พูล เคร็ก จอห์นสตัน มีการออกแบบทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น มีถุงลมที่ฝ่าเท้าและใบมีดยางแทนที่ของสตั๊ด[18] ใบมีดนั้นเป็นที่ถกเถียงในหมู่ผู้จัดการทีมชั้นนำ โดยลงความเห็นว่า ก่อให้เกิดความบาดเจ็บได้ทั้งต่อผู้เล่นฝั่งตรงข้ามและผู้สวมใส่เอง[19][20]
กติการะบุว่าผู้เล่นทุกคน ไม่ว่าจะเพศไหน ต้องสวมเสื้อทีมแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 สโมสรฟุตบอลหญิงเนเธอร์แลนด์ เอฟเวเดอรักท์ (FC de Rakt) ตกเป็นหัวข้อข่าวระดับนานาชาติโดยได้เปลี่ยนชุดกีฬาแบบเก่ามาสวมกระโปรงสั้นและเสื้อรัดรูปแทน รูปแบบชุดกีฬานี้เป็นการเรียกร้องจากทีมเอง และถูกสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ห้ามใช้ชุดดังกล่าว แต่ต่อมาได้กลับคำตัดสินเมื่อปรากฏว่าสโมสรสวมกางเกงอยู่ใต้ด้านในกระโปรง สมาคมจึงอ่อนข้อให้[21]

ชุดบอล

ถุงมือผู้รักษาประตูในแบบต่าง ๆ
กติกาอนุญาตให้ผู้เล่นสวมถุงมือได้[22] ส่วนผู้รักษาประตูมักจะสวมถุงมือพิเศษ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1970 ผู้เล่นมักไม่ค่อยสวมถุงมือ[23] แต่ปัจจุบันถือเป็นเรื่องผิดปกติหากผู้รักษาประตูไม่สวมถุงมือ ในการแข่งขันระหว่างทีมชาติโปรตุเกส กับทีมชาติอังกฤษในการแข่งขันยูโร 2004 รีการ์ดูถูกวิจารณ์อย่างมากหลังตัดสินใจไม่สวมถุงมือในการดวลลูกโทษ[24] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา การออกแบบถุงมือได้มีการพัฒนาอย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องป้องกันนิ้วหักไปด้านหลัง มีการแบ่งแต่ละส่วนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และอุปกรณ์สำหรับฝ่ามือก็ออกแบบให้ป้องกันสำหรับให้การยึดเกาะดีมากขึ้น[23] ถุงมือมีการออกแบบในแต่ละส่วนเพื่อความหลากหลาย เช่น แบบแฟลตปาล์ม, โรลล์ฟิงเกอร์, และเนกาทีฟ ที่มีความแตกต่างในการเย็บและความพอดีมือ[25]
ในบางครั้งผู้รักษาประตูจะสวมหมวกแก๊ปเพื่อป้องกันแสงจ้าจากดวงอาทิตย์หรือแสงจ้าจากดวงไฟ[22] ส่วนผู้เล่นที่มีปัญหาด้านสายตา อาจสามารถใส่แว่นสายตาได้ ตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายหรือตกหล่นหรือแตก ที่อาจเป็นอันตราย แต่ผู้เล่นส่วนใหญ่มักใส่คอนแทกต์เลนส์มากกว่า ในกรณีของเอ็ดการ์ ดาวิดส์ นักฟุตบอลชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ไม่สามารถใส่คอนแทกต์เลนส์ได้เนื่องจากเป็นต้อหิน เขาจึงใส่แว่นตากันลม อันทำให้ผู้คนจดจำภาพลักษณ์ดังกล่าวนี้[26] ส่วนอุปกรณ์อื่นที่อาจทำอันตรายต่อผู้เล่นอื่น อย่างเช่น เครื่องประดับ อัญมณี ไม่อนุญาตให้ใส่ลงแข่งขัน[1] อุปกรณ์อื่นที่ผู้เล่นสวม อย่าง เบสเลเยอร์ (ชุดรัดกล้ามเนื้อ) ได้แก่ เทกฟิตของอาดิดาส, ไนกีโปรของไนกี้และรุ่นเบสเลเยอร์ของแคนเทอร์เบอรี[27] ผู้เล่นอาจใส่อุปกรณ์สวมศีรษะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ตราบใดที่ไม่ทำอันตรายต่อผู้สวมและผู้เล่นคนอื่น[28]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น